5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี


เพราะ เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์ นอกจากความสวยงามที่ต้องคำนึงถึงแล้ว ยังมีองค์ประกอบในการทำเว็บไซต์ที่ดี ที่ท่านเจ้าของเว็บไซต์ควรทราบ เพราะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ของทุกท่านให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกหลายอย่าง แต่เว็บมาสเตอร์ต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง ติดตามคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ

 

5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

1. Accessibility : ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล

2. Speed : ความเร็วในการแสดงผลข้อมูลบนเว็บไซต์

3. Attractiveness : เว็บไซต์ต้องน่าสนใจ ดึงดูดสายตา

4. Simplicity : ความง่ายในการใช้งาน

5. Credibility : ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์


 1. Accessibility : ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล


หนึ่งในองค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี คือ ต้องสามารถนำเสนอข้อมูลแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้อย่างครบถ้วน ไม่มีปัญหาเรื่องของการแสดงหน้าเว็บไซต์  ผู้เข้าชมต้องได้รับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ ดังต่อไปนี้

  

2. Speed ความเร็วในการแสดงผลข้อมูลบนเว็บไซต์


ในการเปิดเว็บไซต์แต่ละหน้า เว็บไซต์ที่ดีไม่ควรมีองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เข้าชมเว็บใช้เวลาในการโหลดนานเกินไป เพราะธรรมชาติของผู้เข้าชมเว็บไซต์อย่างหนึ่ง คือ ผู้ชมจะไม่มีความอดทนสูงมากนักในการค้นหาข้อมูลทาง Internet (อ่านเพิ่มเติมได้ใน รู้จักธรรมชาติของผู้เข้าชมเว็บไซต์/ลูกค้า Online ให้ดี..มีชัยไปกว่าครึ่ง นะคะ)

ถ้าการเข้าถึงเว็บไซต์ทำให้เขาต้องเสียเวลามากเกินไป ผู้ชมท่านนั้นก็อาจจะออกจากเว็บไปทันที! รีบป้องกันไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ รีบปรับปรุงเว็บไซต์ให้แสดงผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ตามวิธีง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

จะเห็นได้ว่าข้อมูลองค์ประกอบเว็บไซต์ทั้งหมดข้างต้น ล้วนเป็นตัวช่วยที่ทำให้เว็บของเรามีความสวยงาม ดึงดูดสายตา และสร้างความน่าสนใจแก่ผู้ชม แต่ก็เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลกระทบหลักต่อการโหลดข้อมูลบนเว็บไซต์ด้วยนะคะ

ดังนั้น หลังจากใส่ข้อมูลบนเว็บแล้ว อย่าลืมตรวจสอบการแสดงผลบนข้อมูลเว็บไซต์จริงทุกครั้ง ว่าแสดงผลช้าหรือเร็วเพียงใด ที่สำคัญเลือกใช้แต่พอดีนะคะ แล้วเว็บไซต์ของคุณก็จะเป็นเว็บที่สวยและดีอย่างแน่นอนค่ะ

3. Attractiveness เว็บไซต์ต้องน่าสนใจ ดึงดูดสายตา


เว็บไซต์ที่น่าสนใจและดึงดูด ต้องสามารถทำให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หยุดอยู่ที่เว็บไซต์ของคุณได้ทันทีเมื่อเข้ามาครั้งแรก โดยต้องคำนึงถึงวิธีการตาม หลักการ AIDA ดังต่อไปนี้

ดังนั้น ให้จินตนาการว่า เมื่อผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ อ่านเนื้อหามาถึงจุดหนึ่งแล้ว คุณอยากให้เขาไปที่หน้าไหนต่อ แล้ววางลิงก์อ่านต่อไว้ที่ข้างๆ เนื้อหานั้น เช่น เว็บไซต์โรงแรม จะวางปุ่มจองห้องพัก ไว้ข้าง ๆ รูปภาพที่แสดงรายละเอียดของห้องพัก เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถคลิกที่ปุ่มจองได้ทันที เป็นต้น

 

ลองมาดูสรุปใจความและภาพตัวอย่างประกอบกันอีกครั้งนะคะ

 

4. Simplicity ความง่ายในการใช้งาน


เว็บไซต์ที่ดีควรแสดงถึง "ความง่ายของการจัดเรียงข้อมูล" ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่าย แต่หากเว็บไซต์มีการจัดเรียงข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบหรือไม่เป็นหมวดหมู่แล้ว ก็จะเพิ่มเวลาในการค้นหาของผู้เข้าชมเว็บไซต์ จนอาจมีผลให้เขาเหล่านั้นออกจากเว็บไซต์ของคุณไปเลยก็เป็นได้

 



 

5. Credibility ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์


ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้การสร้างตัวตนของธุรกิจบนโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ เริ่มตั้งแต่ การใช้ Social Network นำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ไปจนถึงการเปิดเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ขายสินค้าเป็นเรื่องเป็นราว ก็ทำได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

และในมุมของผู้ซื้อ แม้ช่องทางออนไลน์จะทำให้การจับจ่ายเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าเป็นไปได้อย่างง่าย สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงที่ร้าน แต่ก็ยังมีผู้ชมเว็บไซต์อีกมากที่ไม่กล้าซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากยังไม่เห็นสินค้าจริง ก็ทำให้เกิดความสงสัย ไม่มั่นใจ และระแวงได้

ดังนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ท่านเจ้าของเว็บไซต์จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เกิดความมั่นใจและวางใจว่าเว็บไซต์ของคุณไม่ใช่เว็บไซต์หลอกลวง โดยวิธีการที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณน่าเชื่อถือ มีดังนี้ค่ะ
 

  • ดีไซน์การออกแบบเว็บไซต์ ควรดูน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ (Professional Look) มีเนื้อหาอย่างครบถ้วน มีรูปภาพสินค้าหรือบริการประกอบเนื้อหาอย่างชัดเจน และจัดข้อมูลอย่างเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการเข้าชม

  • แสดงที่อยู่ติดต่อชัดเจน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ หรือกรณีที่มีหน้าร้านจริง สามารถแสดงแผนที่ตั้ง เพื่อยืนยันการมีตัวตน และรองรับการติดต่อเข้ามาของลูกค้าที่สนใจได้


  • สร้างหน้า เกี่ยวกับเรา (About Us) แสดงเนื้อหาของประวัติความเป็นมา ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ ของบริษัท ภาพออฟฟิศ ทีมงาน 

  • มีเครื่องหมายรับรองจากสถาบันต่าง ๆ (Certification and Accreditation)  เช่น เครื่องหมาย DBD Verified, Registered ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  เป็นต้น ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะต้องนำเว็บไซต์ไปผ่านการตรวจรับรองจากองค์กรมาตรฐานต่างๆ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือว่าเว็บไซต์นี้อยู่ในขอบเขตของกฏหมาย

 

  • มีหน้าคำถามที่พบบ่อย FAQ (Frequently Asked Questions) แนะนำข้อมูลหรือตอบข้อสงสัยเบื้องต้นให้กับลูกค้า

  • มีตัวอย่างประสบการณ์ผู้ซื้อ ผู้ใช้บริการ (Testimonials) เพื่อแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์นี้เคยให้บริการกับลูกค้ารายอื่นๆ หากลูกค้ามีชื่อเสียงในวงสังคม หรือเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ย่อมก่อให้เกิดผลในทางบวก และส่งเสริมภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ให้ดีขึ้น

  • แสดงเงื่อนไขและนโยบายในการซื้อหรือขายสินค้าและบริการที่ชัดเจน ช่วยให้เห็นถึงความจริงใจของเจ้าของเว็บไซต์ เพราะแสดงขอบเขตของการให้บริการ และคุณสมบัติของลูกค้า

  • ระวังการใช้ Webboard, Guest Book, Comments ถ้าจำเป็นให้ใช้ ระบบ Captcha ช่วยป้องกัน spam


สรุปกันอีกครั้งนะคะ กับวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ


แม้ว่าธุรกิจจะมีสินค้าที่มีคุณภาพดี ขายในราคาที่คุ้มค่า และมีการจัดกิจกรรมทางการตลาดพื้นฐานที่น่าสนใจ แต่หากนำข้อมูลเหล่านี้มาแสดงบนโลกออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ ก็อาจทำให้ผู้ชมเว็บไซต์จะเปลี่ยนใจไปเลือกซื้อสินค้าที่เว็บไซต์อื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือกว่าได้ และจำนวนลูกค้าของคุณก็จะลดลงอย่างน่าใจหาย จนทำให้ต้องล้มเลิกการใช้ช่องทางออนไลน์ช่วยขยายธุรกิจไปอย่างน่าเสียดาย

ดังนั้น อย่าลืมใส่ใจดูแลเว็บไซต์ ด้วยการใส่เนื้อหาตาม "องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี" ทั้ง 5 อย่าง คือ เว็บไซต์ต้องเข้าถึงได้ง่าย, แสดงผลได้เร็ว, ดึงดูดสายตา น่าสนใจ, ใช้งานง่าย และที่ขาดไม่ได้ ต้องมีความน่าเชื่อถือ ด้วยจุดเริ่มต้นง่าย ๆ เหล่านี้ ที่จะพาธุรกิจของคุณไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอนค่ะ