การเพิ่มเมนูประเภทต่างๆ

เว็บมาสเตอร์สามารถเพิ่มเมนูในเว็บไซต์ได้ โดยคลิกปุ่ม "เพิ่มเมนู" ที่พื้นที่ เมนูด้านบน หรือ เมนูด้านข้าง

 

ปรากฎหน้าต่าง "เลือกประเภทเมนู" สามารถเลือกเพิ่มเมนูได้ 8 ประเภท คือ บทความ , Landing Page , เมนู Tag , หมวดหมู่สินค้า , ป้ายกำกับสินค้า , เมนูข้อความ , เมนูลิงค์ , เมนูสมาชิก 



ShopingCardMenu


เมนูบทความ

เมนูบทความนับเป็นชนิดเมนูที่เป็นหัวใจหลักของเว็บไซต์ ใช้สำหรับแสดงผลเนื้อหาทั้งข้อความและรูปภาพได้ไม่จำกัด

 

เมื่อคลิกเลือกเพิ่มเมนูประเภท "บทความ" แล้วจะปรากฎหน้าต่าง "เพิ่มหน้าใหม่" คุณสามารถใส่ข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 


  

ตำแหน่งหมายเลข 1. "ชื่อเมนู" สำหรับใส่ชื่อของบทความ  สินค้า หรือเรื่องราวที่ต้องการ

ตำแหน่งหมายเลข 2. "หัวข้อเนื้อหา / ชื่อบทความ"  สามารถใส่คำอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมจากส่วน "ชื่อเมนู" ในเว็บไซต์แต่ละหน้าซึ่งสามารถเปลี่ยนชื่อหรือแก้ไขได้

ตำแหน่งหมายเลข 3. "Static URL" การสร้าง URL ที่เข้าใจง่าย สอดคล้องกับเนื้อหาและภาพในหน้าเว็บนั้นๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

ตำแหน่งหมายเลข 4.  Tags สามารถใส่คำและคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ  แล้วคำนั้นจะกลายเป็นลิงก์ให้สามารถคลิกได้  โดยเว็บมาสเตอร์สามารถใส่ Tag เพื่อแสดงผลสินค้าหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามต้องการ ดูรายละเอียด วิธีการใช้งานฟังก์ชัน Tags เพิ่มเติม คลิกที่นี่ ค่ะ

ตำแหน่งหมายเลข 5. ตัวเลือก "แสดงเฉพาะสมาชิก" กรณีที่เว็บมาสเตอร์เปิดใช้งาน ระบบสมาชิก (Member Login) จะสามารถทำเครื่องหมายกาถูกในช่อง "แสดงเฉพาะสมาชิก" เพื่อปิดเมนูนี้ให้เฉพาะสมาชิกที่ log in เข้าสู่ระบบสมาชิกของเว็บไซต์แล้วเท่านั้นจึงจะมองเห็น และคลิกดูข้อมูลในเมนูนั้น ๆ ได้

หลังจากกรอกข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว คลิก "บันทึก"

จะปรากฎเมนูที่เพิ่มเข้ามาใหม่ที่บริเวณเมนูด้านบน หรือเมนูด้านข้าง คุณสามารถใส่รายละเอียดในหน้าใหม่ที่ปรากฎ ดังต่อไปนี้

 

 

ตำแหน่งหมายเลข 1. ชื่อเมนู (ตามขั้นตอนในข้อที่ 1. ข้างต้น) เป็นพื้นที่หลักสำหรับใส่เนื้อหาและรูปภาพ ที่คุณต้องการนำเสนอในแต่ละหน้า ซึ่งจะเรียกพื้นที่หลักสำหรับใส่เนื้อหาส่วนนี้ว่า พื้นที่เนื้อหาหลัก (Section Main) เบื้องต้น Section พื้นที่เนื้อหาหลัก จะแสดงผลอยู่ส่วนบนสุดของหน้าเมนูใหม่นี้ (เป็น Section ที่ไม่สามารถลบได้) หากภายหลังเว็บมาสเตอร์ได้เพิ่ม Section อื่น ๆ เพื่อใส่ข้อมูล จะสามารถคลิกลาก Section พื้นที่เนื้อหาหลัก และวางสลับตำแหน่งกับข้อมูลใน Section อื่น ๆ ได้

ตำแหน่งหมายเลข 2. หัวข้อเนื้อหา (ตามขั้นตอนในข้อที่ 2. ข้างต้น) ในกรณีที่ไม่ได้ ตั้งค่า Static URL ที่เมนูนี้ หัวข้อเนื้อหาจะถูกนำไปแสดงผลเป็น Title Tag ที่แสดงบน Title Bar ของ Web Browser และแสดงในผลการค้นหาบรรทัดแรกของ Google อีกด้วย

 

ตำแหน่งหมายเลข 3 รูปภาพประกอบเนื้อหา สามารถใส่รูปภาพประกอบ ใน Section Main แต่ละหน้าได้ 7 รูป โดยสามารถลากเปลี่ยนสลับตำแหน่งของแต่ละรูปได้  หรือคลิก ซ่อน หากไม่ต้องการให้แสดงรูปประกอบรายการค่ะ อ่านรายละเอียด วิธีใส่รูปภาพประกอบเนื้อหา เพิ่มเติม คลิกที่นี่ ค่ะ

 

ตำแหน่งหมายเลข 4 รายละเอียดเนื้อหา สามารถพิมพ์เนื้อหาสินค้าหรือบริการในส่วนนี้ได้โดยตรง โดยระบบจะทำการบันทึกข้อมูลให้อัตโนมัติ

 

สามารถ แก้ไขข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Text Editor ตกแต่งเพิ่มเติม โดยนำเมาส์ไปวางตำแหน่งรายละเอียดเนื้อหา จะปรากฎสัญลักษณ์  และคลิก "แก้ไขด้วย Text Editor"

ตัวอย่างการแสดงผลหน้าแก้ไขรายละเอียดเนื้อหา ด้วย Text Editor เช่น การทำตัวอักษรหนา , เปลี่ยนสีตัวอักษร, ใส่รูปภาพเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือ Insert/Edit Image, ผูกลิงก์ด้วยเครื่องมือ Insert/Edit Link หรือวางโค้ดตกแต่งเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือ Source Code (อยู่ภายใต้เมนู Tools) เป็นต้น

เมื่อแก้ไขข้อมูลเรียบร้อยตามความต้องการแล้ว คลิก "บันทึก"

 

 

สามารถคลิกลาก-ย้ายเมนู (Drag and Drop) เพื่อสลับตำแหน่งการแสดงผลได้ตามต้องการ ดังภาพตัวอย่าง 

 

 

นอกจากนี้ ยังสามารถ เพิ่มส่วนเสริมในเนื้อหา (Content Section) แต่ละหน้าเว็บไซต์ เพื่อนำเสนอข้อมูลสินค้าหรือบริการของคุณบนหน้าเว็บไซต์ได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ในการดูรายละเอียดหน้าต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 


 เมนู Landing Page

 

เมื่อธุรกิจหรือองค์กรมีการนำเสนอสินค้า บริการ ประชาสัมพันธ์ หรือโปรโมชั่นต่าง ๆ ด้วยการใส่ข้อมูลเหล่านี้บนหน้าเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว  ขั้นตอนถัดไปที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการสร้างเว็บไซต์คือ การแนะนำเว็บไซต์เพื่อให้เป็นที่รู้จักด้วยวิธีการต่าง ๆ บนโลกออนไลน์

เช่น การทำแบนเนอร์โฆษณาเว็บไซต์ไปติดประกาศตามเว็บไซต์รับลงประกาศ, เว็บไซต์ Social Network, อีเมลจดหมายข่าว เป็นต้น ซึ่งสะดวก ประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา รวมถึงสามารถนำลูกค้าที่สนใจเข้ามาสู่เว็บไซต์ของเราได้

และนอกจากการสร้างลิงก์จากการโฆษณามายังหน้าเว็บไซต์หลักแล้ว ยังมีหน้าเว็บไซต์อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Landing Page คือ หน้าเว็บไซต์ที่ใช้ใส่เนื้อหาการทำโฆษณาออนไลน์ หรือเป็นหน้าเป้าหมายปลายทางหลังจากคลิกโฆษณานั้น ๆ ซึ่งจะรองรับการนำเสนอข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่ต้องการโดยเฉพาะและจะแสดงผลแยกออกจากเว็บไซต์หลักแบบต่างหาก จึงเป็นส่วนที่รองรับการทำโปรโมชั่นหรือแคมเปญส่งเสริมการขายต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้อย่างดี  เพราะผู้เข้าชมจะมองเห็นเฉพาะข้อมูลในหน้า Landing Page ทำให้ความสนใจมุ่งเฉพาะอยู่ในเรื่องนี้ ไม่มีเมนูที่ลิงก์ไปยังส่วนอื่น ๆ ที่อาจทำให้การตัดสินใจของลูกค้าเปลี่ยนแปลงได้


ดังนั้น เจ้าของเว็บไซต์สามารถปิดการขายหรือเก็บข้อมูลที่ต้องการ โดยการแสดงผลแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลติดต่อกลับในหน้า Landing Page ได้ทันที  และ Landing Page ที่ดีจะช่วยให้คุณได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า และทำให้ลูกค้าเหล่านั้นกลับมายังเว็บไซต์ของเราในภายหลังอีกด้วยค่ะ 

 

สำหรับวิธีการสร้างหน้า Landing Page ในระบบเว็บไซต์พร้อมใช้ R-Web หลังจากคลิกปุ่ม "เพิ่มเมนู" จะปรากฎหน้าต่าง "เลือกประเภทเมนู" ให้คลิก "Landing Page"


จากนั้นในหน้าต่าง "เพิ่ม Landing Page" คุณสามารถใส่ข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

1. "ชื่อเมนู" สามารถใส่ชื่อ Landing Page ตามต้องการ

2. "หัวข้อเนื้อหา"  สามารถใส่ค่ำอธิบายข้อมูล Landing Page เพิ่มเติมจากส่วน "ชื่อเมนู" ได้

3. "Static URL" การสร้าง URL ที่เข้าใจง่าย สอดคล้องกับเนื้อหาและภาพในหน้าเว็บนั้นๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

4. "Tags" สามารถใส่คำและคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลใน Landing Page นั้น ๆ แล้วคำนั้นจะกลายเป็นลิงก์ให้สามารถคลิกได้  โดยเว็บมาสเตอร์สามารถใส่ Tag เพื่อแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามต้องการ

     ดูรายละเอียด วิธีใช้งานฟังก์ชัน Tags เพิ่มเติม คลิกที่นี่ ค่ะ

5. ตัวเลือก "แสดงเฉพาะสมาชิก" กรณีที่เว็บมาสเตอร์เปิดใช้งาน ระบบสมาชิก (Member Login) จะสามารถทำเครื่องหมายกาถูกในช่อง "แสดงเฉพาะสมาชิก" เพื่อปิดเมนูนี้ให้เฉพาะสมาชิกที่ log in เข้าสู่ระบบสมาชิกของเว็บไซต์แล้วเท่านั้นจึงจะมองเห็นและคลิกดูข้อมูลในเมนูนั้นๆได้

หลังจากกรอกข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว คลิก "บันทึก"

 

3. จะปรากฎหน้า Landing Page ซึ่งคุณสามารถใส่รายละเอียดในหน้าใหม่ที่ปรากฎ ดังต่อไปนี้

 


ตำแหน่งหมายเลข 1 คือ ปุ่ม กลับไปหน้าแรก สามารถคลิกเพื่อย้อนกลับไปยังหน้าแรกของเว็บไซต์ได้เพื่อแก้ไขเมนูอื่น ๆ ของเว็บไซต์ได้ตามปกติ


ตำแหน่ง
หมายเลข 2 คือ หัวข้อเนื้อหาแสดงผลเป็นชื่อเมนูและเป็นหัวข้อหลักของหน้า Landing Page ตามที่ได้ตั้งไว้ในตำแหน่งหมายเลข 3. ข้างต้น ซึ่งสามารถเปลี่ยนชื่อหรือแก้ไขได้  และในช่องถัดมา คือ หัวข้อย่อยเนื้อหา เป็นคำอธิบายเพิ่มเติมของหัวข้อเนื้อหา


ตำแหน่ง
หมายเลข 3 คือพื้นที่สำหรับใส่เนื้อหาและรูปภาพประกอบ

     - รายละเอียดเนื้อหา คุณสามารถพิมพ์เนื้อหาสินค้าหรือบริการในส่วนนี้ได้โดยตรง โดยระบบจะทำการบันทึกข้อมูลให้อัตโนมัติ หรือ แก้ไขข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ Text Editor ตกแต่งเพิ่มเติม นำเมาส์ไปวางตำแหน่งรายละเอียดเนื้อหา จะปรากฎสัญลักษณ์  และคลิก "แก้ไขด้วย Text Editor"

     - รูปภาพประกอบเนื้อหา ใน Section Main จำนวน 7 รูป โดยสามารถลากเปลี่ยนสลับตำแหน่งของแต่ละรูปได้  หรือคลิกซ่อน หากไม่ต้องการให้แสดงรูปประกอบรายการค่ะ (ดูรายละเอียด วิธีใส่รูปภาพประกอบเนื้อหา คลิกที่นี่ ค่ะ)


ตำแหน่ง
หมายเลข 4 ปุ่มเพิ่ม Section คือ ตัวเลือกรายการข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งสามารถเลือกแสดง  ปุ่ม Social Buttons และ แบบฟอร์มติดต่อกลับ เพื่อเก็บข้อมูลได้ตามต้องการ

 

และดังที่แจ้งไว้ข้างต้นว่า หน้า Landing Page ควรจะเป็นหน้าที่นำเสนอข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยที่ไม่มีลิงก์เกี่ยวข้องไปยังเนื้อหาเรื่องอื่น ๆ ของเว็บไซต์เพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำโปรโมชั่น การโฆษณา หรือการตลาดออนไลน์  แต่ในเบื้องต้น เมื่อมีการเพิ่มเมนู Landing Page เข้ามาในเว็บไซต์แล้ว ระบบจะแสดงผลเมนู Landing Page ที่ตำแหน่ง เมนูด้านข้าง บนหน้าเว็บไซต์อัตโนมัติ
 

ซึ่งในส่วนนี้ท่านสมาชิกสามารถ คลิกที่เมนู Landing page ดังกล่าว แล้วลากเข้าไปเก็บไว้ในเมนู "คลังเนื้อหา" เพื่อซ่อนเมนูดังกล่าวไม่ให้แสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ปกติ  แต่คุณยังสามารถนำ URL ของหน้า Landing Page ไปใช้ในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้ตามปกติค่ะ

(อ่านรายละเอียด วิธีจัดเก็บข้อมูลเข้าคลังเนื้อหา เพิ่มเติม คลิกที่นี่ ค่ะ)

 


 

เมนู Tag

    

Tags คือ ฟังก์ชันที่ให้คุณสามารถใส่คำและคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือเนื้อหาเรื่องนั้น ๆ  แล้วคำนั้นจะกลายเป็นลิงก์ให้สามารถคลิกได้  โดยเว็บมาสเตอร์สามารถใส่ Tag เพื่อแสดงผลสินค้าหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างเป็นหมวดหมู่ตามต้องการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เข้าถึงเรื่องที่สนใจผ่านการคลิกลิงก์ของ Tag ได้อย่างง่ายดาย  และค้นหาสินค้าหรือบทความเรื่องที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็วอีกด้วย 

 

 

ดูรายละเอียด วิธีใช้งานฟังก์ชัน Tags เพิ่มเติม คลิกที่นี่ ค่ะ


เมื่อเว็บมาสเตอร์ได้เพิ่ม Tag ในหน้ารายละเอียดสินค้าหรือบทความ จนได้เป็นหมวดหมู่ใหม่ตามต้องการแล้ว เช่น หมวดหมู่สินค้า เสื้อผ้าแฟชั่น ที่มีการ Tag แยกตามยี่ห้อ ไว้ในสินค้าแต่ละชิ้น เป็นต้น จะสามารถเลือกหมวดหมู่ข้อมูลจาก Tags มาแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ได้ ดังต่อไปนี้ค่ะ

 

วิธีแสดงผลหมวดหมู่ข้อมูลจาก Tags ด้วยการเพิ่มเมนู


หลังจากคลิกปุ่ม "เพิ่มเมนู" และเลือกเพิ่ม "เมนู Tag" แล้ว จะปรากฎหน้าต่าง "เพิ่มเมนู Tag" ในช่อง "ชื่อเมนู" ให้กรอกชื่อที่ต้องการแสดงผล และคลิกเลือก Tag ตามหมวดหมู่ที่ต้องการ  

และเมนู Tag ก็จะแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถย้ายตำแหน่งการแสดงผลโดยการ Drag & Drop หรือลากและปล่อยเมนูในตำแหน่งที่ต้องการได้ เช่น เมนูด้านบน, เมนูระดับสอง เป็นต้น 

 

 

 

นอกจากนี้ เมื่อคลิกที่เมนูประเภท Tag หรือลิงก์ Tag ที่เพิ่มมาแล้ว เว็บมาสเตอร์สามารถเลือกการแสดงผลข้อมูลสินค้า/บทความ ในแต่ละกลุ่ม Tag ให้จัดเรียงจากใหม่หาไปเก่า หรือเก่าไปหาใหม่ได้

 

 

ตัวอย่างการแสดงผลสินค้า เสื้อผ้าแฟชั่น ทั้งที่ภายใต้หมวดหมู่หลัก ที่เมนูด้านบน และยังแสดงผลเมนูที่สร้างจาก Tags ได้

 


เมนูหมวดหมู่สินค้า 

สำหรับท่านที่เปิดเว็บไซต์พร้อมใช้ R-Web แพ็กเกจที่มี ระบบ R-Shop สำหรับขายสินค้าออนไลน์ เมื่อใส่ข้อมูลสินค้าในส่วน R-Shop เรียบร้อยแล้ว สามารถนำสินค้ามาแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ได้ 

 

วิธีเพิ่มเมนูหมวดหมู่สินค้า

เมื่อคลิกเลือกเพิ่มเมนูประเภท "หมวดหมู่สินค้า" แล้วจะปรากฎหน้าต่างสำหรับเลือกหมวดหมู่สินค้าที่ได้สร้างไว้ใน R-Shop ตามต้องการ

 

 

 

เมื่อเลือกและกดปุ่มบันทึก ระบบจะสร้างเมนูใหม่  โดยจะแสดงผลชื่อหมวดหมู่สินค้าที่เลือก มาแสดงเป็นชื่อเมนูอัตโนมัติ 

 

 

และภายในหน้าเมนูหมวดหมู่สินค้าที่แสดงผลกลุ่มสินค้าตามที่เลือกแล้ว ยังมีปุ่ม เพิ่ม Section แสดงผลที่ส่วนล่างสุด เพื่อให้เว็บมาสเตอร์สามารถเพิ่ม Section อื่น ๆ เพื่อใส่ข้อมูลเสริมให้กับหมวดหมู่สินค้านั้น ๆ ให้มีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง และแสดงผลได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ดังต่อไปนี้

 

 




 

การแสดงผลเมนูหมวดหมู่สินค้าบนหน้าเว็บไซต์

เบื้องต้นจะแสดงผลสินค้าจากหมวดหมู่ที่เลือกมาสร้างเมนู หน้าละ 24 รายการ ทั้งสินค้าที่เพิ่มอยู่ในหมวดหมู่นั้น ๆ โดยตรง รวมถึงหากมีหมวดหมู่สินค้าย่อยอยู่ภายใต้ ก็จะแสดงผลสินค้าพร้อมลิงก์หมวดหมู่ย่อยด้วย (การแสดงผลสินค้าเรียงลำดับจากการเพิ่มสินค้าใหม่สุด-เก่าสุด)


 

วิธีแก้ไขเมนูหมวดหมู่สินค้า

เพียงนำเมาส์ไปชี้บริเวณเมนหมวดหมู่สินค้า จะปรากฎสัญลักษณ์ และมีตัวเลือกสำหรับแก้ไขและจัดการเมนู ได้แก่

 

 

ตำแหน่งหมายเลข 1 แก้ไขเมนู สามารถเปลี่ยนชื่อเมนู จากที่ระบบแสดงผลด้วยชื่อหมวดหมู่สินค้า เป็นชื่ออื่น ๆ ได้ตามต้องการ

 

 

ตำแหน่งหมายเลข 2 เปลี่ยนหมวดหมู่สินค้า เลือกหมวดหมู่สินค้าอื่น ๆ มาแสดงผลในเมนูนี้ได้โดยไม่ต้องสร้างเมนูใหม่

ตำแหน่งหมายเลข 3 เพิ่มเมนูภายใต้เมนูนี้ โดยเมนูที่ถูกเพิ่ม (เป็นระดับ 2) จะแสดงผลเมื่อนำเมาส์ไปชี้ที่เมนูด้านบนหรือด้านข้างระดับ 1 

ตำแหน่งหมายเลข 4 ลบเมนู กรณีไม่ต้องการแสดงผลเมนูหมวดหมู่สินค้านี้บนหน้าเว็บไซต์ สามารถคลิกเพื่อลบเมนูได้

 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมนูหมวดหมู่สินค้า

1. การแสดงผล Static URL ของหน้าเมนูหมวดหมู่สินค้า จะขึ้นอยู่กับการตั้งค่า Static URL ของหมวดหมู่สินค้าที่ระบบ R-Shop

2. เมนูประเภทหมวดหมู่สินค้า ไม่สามารถลากย้ายมาแสดงผลเป็นเมนูหน้าแรก (Home) ในตำแหน่งเมนูด้านบนลำดับแรกได้

3. หากเพิ่มเมนูประเภทหมวดหมู่สินค้า เป็นเมนูระดับ 2 แล้วจะไม่สามารถสร้างเมนูระดับ 3-5 ภายใต้เมนูประเภทนี้ได้

4. สำหรับเว็บไซต์ที่เปิดใหม่ หรือ Reset (ตั้งค่าเริ่มต้น) เว็บไซต์ จะไม่แสดงเมนูประเภทหมวดหมู่สินค้าจนกว่าเว็บมาสเตอร์จะคลิกเข้าใช้งานที่ระบบ R-Shop


 

เมนู ป้ายกำกับสินค้า

เมื่อใส่ข้อมูลสินค้าที่ระบบ R-Shop สามารถดึงสินค้าที่ถูกติดป้ายกำกับไว้จากทุกหมวดหมู่ มาแสดงผลที่หน้าเว็บไซต์ได้ เช่น สินค้ามาใหม่ สินค้าขายดี สินค้าแนะนำ เป็นต้น

 

วิธีเพิ่มเมนูป้ายกำกับสินค้า

เมื่อคลิกเลือกเพิ่มเมนูประเภท "ป้ายกำกับสินค้า" แล้วจะปรากฎหน้าต่างสำหรับเลือกป้ายกำกับสินค้าที่มีใน R-Shop ตามต้องการ

 

เมื่อเลือกและกดปุ่มบันทึก ระบบจะสร้างเมนูใหม่  โดยจะแสดงผลชื่อป้ายกำกับสินค้าที่เลือก มาแสดงเป็นชื่อเมนูให้อัตโนมัติ

 

 


 

 

เมนูข้อความ

คือ เมนูที่แสดงผลชื่อเมนูเหมือนเมนูอื่น ๆ แต่ไม่สามารถคลิกอ่านข้อมูลในเมนูนี้ได้ มักใช้เป็นหัวข้อเมนูของหมวดหมู่ที่มีข้อมูลสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ระดับ 2 ถึง 5 อยู่ภายใต้  

สามารถแสดงผลได้ทั้งที่เมนูด้านบนและเมนูด้านข้าง โดยหลังจากคลิกปุ่ม "เพิ่มเมนู" และเลือกเพิ่ม "เมนูข้อความ" จะปรากฎหน้าต่าง "เพิ่มเมนูข้อความ" คุณสามารถใส่ข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

 

1. "ชื่อเมนู" สามารถใส่ชื่อหัวข้อ เมนูข้อความ ได้ตามต้องการ

2. ตัวเลือก "แสดงเฉพาะสมาชิก" กรณีที่เว็บมาสเตอร์เปิดใช้งาน ระบบสมาชิก (Member Login) จะสามารถทำเครื่องหมายกาถูกในช่อง "แสดงเฉพาะสมาชิก" เพื่อปิดเมนูนี้ให้เฉพาะสมาชิกที่ log in เข้าสู่ระบบสมาชิกของเว็บไซต์แล้วเท่านั้นจึงจะมองเห็นและคลิกดูข้อมูลในเมนูนั้นๆได้

หลังจากกรอกข้อมูลในหัวข้อต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว คลิก "บันทึก"

จะปรากฎเมนูข้อความที่เพิ่มเข้ามาใหม่ โดยคุณสามารถเพิ่มเมนูอื่น ๆ เข้าไปอยู่ภายใต้เมนูนี้ แก้ไข ตกแต่ง รวมถึง Drag&Drop ลากย้ายสลับตำแหน่งได้ตามต้องการค่ะ

 

ตัวอย่างการแสดงผลเมนูข้อความบนหน้าเว็บไซต์

สร้างเมนูชนิด เมนูข้อความ ชื่อ อื่นๆ ซึ่งจะไม่สามารถคลิกเพื่อเข้าไปดูข้อมูลที่เมนูนี้ได้ แต่ถ้านำเมาส์ไปชี้ที่เมนูดังกล่าว จะปรากฎเมนูระดับ 2 ที่ถูกเพิ่มให้อยู่ภายใต้เมนูข้อความ อื่นๆ ซึ่งสามารถคลิกลิงก์ได้ตามปกติตามที่เพิ่มค่ะ

 

  


 

เมนูลิงก์

เมนูที่ถูกกำหนดให้ลิงก์ไปยังหน้าเว็บไซต์ปลายทางใดก็ได้ที่ต้องการ ทั้งภายในเว็บไซต์ของเราเองและเชื่อมโยงออกไปที่เว็บไซต์อื่นๆ โดยหลังจากเลือกเพิ่ม "เมนูลิงก์" จะปรากฎหน้าต่าง "เพิ่มเมนูลิงก์" ให้กรอกข้อมูลในช่องรายละเอียด ดังนี้



  • ตำแหน่งหมายเลข 1 ชื่อเมนู : ตั้งชื่อเมนูตามต้องการ
     
  • ตำแหน่งหมายเลข 2 URL : ให้ใส่ URL ของหน้าเว็บไซต์ปลายทางที่ต้องการลิงก์ไปถึง
     
  • ตำแหน่งหมายเลข 3 ประเภทการเปิด Link : เลือกการเปิดหน้าเว็บไซต์เมื่อคลิกลิงก์  ให้แสดงผลทับหน้าต่างเดิม (มักใช้ในกรณีที่สร้างลิงก์ภายในเว็บไซต์เดียวกัน) หรือจะแสดงผลในหน้าต่างใหม่ (มักใช้ในกรณีที่สร้างลิงก์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก)
     
  • ตำแหน่งหมายเลข 4 ตัวเลือก "แสดงเฉพาะสมาชิก" กรณีที่เว็บมาสเตอร์เปิดใช้งาน ระบบสมาชิก (Member Login) จะสามารถทำเครื่องหมายกาถูกในช่อง "แสดงเฉพาะสมาชิก" เพื่อปิดเมนูนี้ให้เฉพาะสมาชิกที่ log in เข้าสู่ระบบสมาชิกของเว็บไซต์แล้วเท่านั้นจึงจะมองเห็นและคลิกดูข้อมูลในเมนูนั้นๆได้

      ตำแหน่งหมายเลข 5 คลิกปุ่ม บันทึก

 

ตัวอย่างการแสดงผลเมนูลิงก์บนหน้าเว็บไซต์ (ตัวอย่างการคลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเปิดหน้าต่างใหม่)

 

 

 


เมนูสมาชิก 

 

สำหรับเว็บไซต์ที่เปิดใช้งาน ระบบสมาชิก (Member Login) ที่อยู่ภายใต้ "ตั้งค่า" เรียบร้อยแล้ว สามารถกำหนดการแสดงผลแบบฟอร์มรับสมัครสมาชิกและหน้าสำหรับให้สมาชิกล็อกอิน ด้วยวิธี เพิ่มเมนูสมาชิก 

 



หลังจากคลิกปุ่ม "เพิ่มเมนู" และเลือกเพิ่ม "เมนูสมาชิก" จะปรากฎ "เมนูสมาชิก" ที่แถบเมนูด้านบนหรือด้านข้าง เมื่อคลิกที่เมนูนี้ จะพบฟอร์มสำหรับสมัครสมาชิกและล็อกอินดังรูปด้านล่าง

 

 

ดูรายละเอียด วิธีใช้งานระบบสมาชิก เพิ่มเติม คลิกที่นี่